รูปที่มีอยู่ทุกบ้าน

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วันปิยมหาราช

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี)เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ
โปรดเกล้าฯให้ประกาศเลิกทาสในเมืองไทย
เลิกทาสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติทรงมี พระทัยแน่วแน่ว่าจะต้องเลิกทาสให้สำเร็จให้จงได้ แต่การที่พระองค์จะทรงทำการเลิกทาสถือว่าเป็นเรื่องยากลำบากด้วยทาสนั้นมีมา ตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ในสมัยนั้นมักมีข้ารับใช้เมื่อไม่มีทาสบุคคลเหล่า นี้อาจจะไม่พอใจ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตราพระราชบัญญัติทาส เรียกว่า พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดเรื่องทาสในเรือนเบี้ยให้เป็นไปอย่างเด็ด ขาด โดยกำหนดให้เด็กที่เกิดจากพ่อหรือแม่ที่เป็นทาส ไม่จำเป็นต้องเป็นทาสอีกต่อไป กฎหมายโบราณแบ่งทาสออกเป็น 7 ชนิด
        1. ทาสสินไถ่
         2. ทาสในเรือนเบี้ย
         3. ทาสได้มาแต่บิดามารดา
         4. ทาสท่านให้
         5. ทาสช่วยมาแต่ทัณฑ์โทษ
         6. ทาสที่เลี้ยงไว้เมื่อเกิดทุพภิกขภัย
         7. ทาสเชลยศึก
 ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน และได้ใช้เวลาเพียง 30 ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยมิเกิดการนองเลือด เหมือนกับประเทศอื่น ๆ เลย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน ได้แก่
1. กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวซึ่งเป็นประเทศราช
2. กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันออกและตะวันตก และเมืองมลายู
3. กระทรวงวัง มีหน้าที่ดูแลรักษาการต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง
4. กระทรวงการคลัง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษีรายได้จากประชาชน
5. กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่ในการดูแลควบคุมการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้
6. กระทรวงนครบาล มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในพระนคร
7. กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ และการศึกษา
8. กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่าง ๆ
9. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง และงานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง
10. กระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

เอกกษัตริย์นักพัฒนา

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์นักพัฒนาและนักเทคโนโลยี ทรงนำความสนพระราชหฤทัย ความรู้ และอัจฉริยภาพด้านต่างๆ มาใช้ประโยชน์เพื่อเอื้อประโยชน์แก่การพัฒนาประเทศในหลายต่อหลายด้าน พระองค์ทรง คิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุงและแก้ไข จนได้มาซึ่งผลที่จะนำประโยชน์มาสู่พสกนิกรขิงพระองค์ โดยแนวคิดและผลงานทั้งหลายเป็นงานที่ดำเนินการได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และสอดคล้องกับระบบนิเวศโดยส่วนรวมของธรรมชาติ ตลอดจนสภาพสังคมของชุมชนนั้นๆ และสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักในการพระราชทานแนวคิดทั้งหลายคือ ทรงมุ่งให้เกิดการพัฒนาคนให้อยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเองเป็นประการสำคัญ
โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ ...
กังหันชัยพัฒนา กับ รางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น 5 รายการ ...  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น "เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย" หรือ "กังหันชัยพัฒนา" และถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ของการออกสิทธิบัตรแก่สิ่งประดิษฐ์ของไทย ...

วันออกพรรษา

นิยาม ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน"เรียกวันที่สิ้นการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ว่า วันออกพรรษา, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก
ประวัติความเป็นมา
วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่ร่วมกันในวัดหรือสถานที่ซึ่ง อธิษฐานเข้าตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม ซึ่งเรียกว่า วันมหาปวารณา คือ วันที่พระภิกษุ์สงฆ์ทุกรูปจะอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในเรื่องราวเกี่ยวกับความประพฤติต่างๆ นับตั้งแต่พระสังฆเถระ ได้แก่ พระภิกษุ์ผู้ที่มีอาวุโสสูงลงมา จะสามารถว่ากล่าวตักเตือนหรือเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน
การกระทำมหาปวารณา เป็นการสังฆกรรมอย่างหนึ่งแทนการสวดพระปาฏิโมกข์ (พระวินัย) ที่ได้กระทำกันทุกๆ 15 วันในช่วงเข้าพรรษา
การประกอบพิธีในวันออกพรรษา
การ ประกอบพิธีในวันนี้ พุทธศาสนิกชนจะนิยมทำบุญเป็นกรณีพิเศษ เช่นตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้น
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
        1. ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับ
         2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
         3. ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว"
         4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ และประดับธงชาติและธงธรรมจักตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
         5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย ฉายสไลด์ หรือบรรยาธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป

โครงการอาสาฯน้ำใจพี่ให้น้อง

กลุ่มดาหลา มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดทำโครงการอาสาฯน้ำใจพี่ให้น้อง ณ โรงเรียนวัดเขางูสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 6 สิงหาคม 2553 กลุ่มดาหลา ซึ่งเป็นนักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ เอกประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดทำโครงการอาสาฯน้ำใจพี่ให้น้อง ณ โรงเรียนวัดเขางูสันติธรรม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการประมาณ 30คน กลุ่ม ดาหลา มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นในรายวิชาทักษะการเรียนรู้สู่ความเป็นบัณฑิตใน อุดมคติ (HUM120) โดยมีนักศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ได้จัดทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษามาเรียนและใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยทั้งด้านการเรียน และทำกิจกรรมควบคู่กัน
 และมีความประสงค์ จะจัดโครงการอาสาฯ น้ำใจพี่ให้น้อง เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วัฒนธรรมและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โดยการเป็นผู้ให้และการสร้างความสามัคคีในกลุ่มคณะ การจัดโครงการครั้งนี้ได้มุ่งกิจกรรมไปที่การบริจาคสิ่งของ อุปกรณ์การเรียน กีฬา และการทำกิจกรรมนันทนาการ เพื่อปลูกฝังเยาวชนระดับอุดมศึกษาของไทยให้มีความเสียสละ ช่วยเหลือสังคม เด็กด้อยโอกาสและชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและอบายมุข และเพื่อให้นักศึกษามีมิตรสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมสถาบัน และเด็กๆ ณ สถานที่จัดโครงการ